วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่3-14

สรุปบทที่ 4 การพัฒนาระบบสารสนเทศสรุปบทที่ 3 ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
          ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจหรือที่เรียกว่า  tps หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ  เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยที่tps จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ  นอกจากนี้  tps ยังช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องอนาคต
           ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการหรือที่เรียกกว่า  mrs  หมายถึง  ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม  ประมวลผล  จัดระบบ  และจัดทำรายงาน  หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร  เนื่องจากงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานอย่างมีประประสิทธิภาพ  โดยที่ mrs  จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร  และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด  หรือตามความต้องการของผู้บริหาร  โดยทั่วไปแล้วการทำงานของ mrs จะถูกใช้สำหรับการวางแผน  การตรวจสอบ  และการควบคุมการจัดการ  ขณะที่ tps จะรวบรวมและแสดงกิจกรรมในการดำเนินงานเท่านั้น
           ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  หรือที่เรียกว่า  dss  หมายถึง  ระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร  เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น  ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  ซึงยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต  ประการสำคัญ dss  จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร  แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าจำเป็นต่อการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร  ปัจจุบัน dss  เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย  หรือเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป
          ระบบสารสนเทศสำนักงานหรือที่เรียกว่า  ois  หมายถึง  ระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นใช้ช่วยการทำงานในสำนักงาน  โดยที่  ois จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานเพิ่มผลผลิต  และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน  โดยสามารถกล่าวอีกนัยคือ  oisมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน  และระหว่างองค์การ  รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ

แบบฝึกหัด

1.จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.1 อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (TPS)
             ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวกับการดำเนนงานภายในองค์กร โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
1.2 หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
            ตอบ  1.การทำบัญชี  (Bookeeping) ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์การ โดยการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 กลุ่มคือ ลูกค้า (Customer) และผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) โดยที่องค์การต้องมการลงบันทึกรายการขายสินค้าในแต่ละวัน และบันทึกรายการซื้อสินค้าเข้าร้าน เป็นต้น
                     2.การอออกแบบเอกสาร(Document Issuance) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกแบบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์การ เช่น การออกใบรับส่งสินค้า (Invoice) การออกเช็ค ใบเสร็จรับเงิน หรือใบสั่งสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น
                     3.การทำรายงานควบคุม (Control Reporting) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ เช่น การออกเช็คเงินเดือนพนักงานแต่ละคน ซึ่งก็จะสามารถทำการตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนเงินที่จ่ายออกไป หรือการรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เป็นต้น
1.3 อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงานสำหรับหารจัด MRS อย่างไร
             ตอบ  TPS และ MRS ข้อแตกต่างคือ MRS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์สำหรับสนับสนุนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร ขณะที่ TPS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงและควบคุมการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวันต่อองค์การ
2.จงตอบคำถามต่อไปนี้
2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
              ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
2.2 รายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
             ตอบ     4 ประเภท
                          1.รายงานที่ออกตามตาราง(Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน เป็นต้น
                          2.รายการที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) เป็นราบงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น โดยการนำเสนอรายงานพิเศษมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้บริหารรับทราบ ใจละทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององค์การ เช่น รายชื่อลูกค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
                         3. รายการที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็นรายการที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
                         4.รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์
2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง
            ตอบ     1. ตรงประเด็น (Relevance)
                          2. ความถูกต้อง (Accuracy)
                          3. ถูกเวลา (Timelinrss)
                          4.สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability)
2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS  มีอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด


ตอบ  -  สนับสนุนการตัดสินใจ
           -  ผลิตรายงานตามตารางที่กำหนด
           -  ผลิตรายงานตามรูปแบบที่กำหนด
           -  รวบรวมและประมวลผลข้อมูล
                           -   ผลิตรายงานออกมาในรูปกระดาษ
 3. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
             ตอบ ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร   เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ้งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารปัจจุบัน DSS ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์กร เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร
4. จงตอบคำถามต่อไปนี้
4.1 อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
             ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือสามารถกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์เพื่อจะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างพนักงานภายในองค์กรเดียวกันและระหว่างองค์กร รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
4.2 อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมตัวอย่าง
            ตอบ  ระบบการจัดเอกสาร ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยระบบจัดเอกสารจะประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญต่อไปนี้
- การประมวลคำ
- การผลิตเอกสารหลายชุด
- การออกแบบเอกสาร
- การประมวลรูปภาพ
- การเก็บรักษา
4.3 อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมตัวอย่าง
            ตอบ ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญต่อไปนี้                - โทรสาร
  - ไปรษณีย์เล็กทรอนิกส์
  - ไปรษณีย์เสียง
4.4 อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมไกลในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมตังอย่าง
           ตอบ  ระบบประชุมทางไกล เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คนซึ่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน
                       -  การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
                        -  การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
                       -  การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
                       -  โทรทัศน์ภายใน
                       -  การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมตังอย่าง
            ตอบ ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นระบบดังต่อไปนี้
 - ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
 - ระบบจัดระเบียบงาน
 - คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
 - การนำเสนอประกอบภาพ
 - กระดานข่าวสารในสำนักงาน

ผู้ใช้ระบบ หมายถึง ผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานกับระบบสารสนเทศ  ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฎิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง เช่น จัดเก็บ ปรับปรุง ประมลผลข้อมูล และนำข้อมูลมาใช้งาน เป็นต้น
ข้อบกพร่องของระบบสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การมีดังนี้
1. ความต้องการ
2. กลยุทธ์
3. เทคโนโลยี
4.ความซับซ้อน
5. ความผิดพลาด
6. มาตรฐาน
ปัจจัยการพัฒนาระบบมีดังนี้
1. ผู้ใช้ระบบ
2. การวางแผน
3. การทดสอบ
4. การจัดการเอกสาร
5. การเตรียมความพร้อม
6. การตรวจสอบและประเมินผล
7. การบำรุงรักษา
8. อนาคต
ในการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ หรือเรียกว่า SA มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบ ซึ่งนอกจากบทบาทสำคัญของนักวิเคราะห์ระบบคือ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนการเปลี่ยนแปลง หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ และการออกแบบระบบ อีกทั้งระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศนักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการอีกหลายหน้าที่ เช่น  ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นต้น

แบบฝึกหัด
1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร
      ตอบ   ตั้งแต่เริ่มที่จะพัฒนาระบบใหม่ให้กับองค์การ โดยบุคคลหรือกลุ่มควรที่จะมีการพัฒนาระบบหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้การพัฒนาระบบใหม่สำเร็จด้วยดีทั้งในด้านงบประมาณ กรอบของระยะเวลา และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2.  ปัจจัยที่ช่วยในการพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
      ตอบ 1. ผู้ใช้ระบบ
                2. การวางแผน
                3. การทดสอบ
                4. การจัดเก็บเอกสาร
                5. การเตรียมความพร้อม
                6. การตรวจสอบและประเมินผล
                7. การบำรุงรักษา
                8. อนาคต
3.  หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
         ตอบ  1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องตลอดช่วงระยะเวลาในการพัฒนาระบบ
                   2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
                   3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน และวางแผนให้สอดคล้องกับการขยายตัวขององค์การในอนาคตด้วย
                   4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ
                   5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
                   6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลที่สามารถใช้กับงานต่าง ๆ ในระบบได้ และรองรับอนาคต
                  7. ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการะเคราะห์ระบบโดยละเอียด
                  8. กำหนดลักษณะของเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
                  9. สร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และร่วมกันทดสอบโปรแกรมที่พัฒนา
                 10. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบรวมถึงการเตรียมแผนรองรับในการปรับเปลี่ยนระบบ
                 11. จัดทำแบบสอบถามถึงการดำเนินงานของระบบใหม่ ที่ได้ติดตั้งไปแล้วในรูปแบบของรายงานผลการใช้งาน
                  12. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุงดัดแปลง หรือแก้ไขทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้มีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุด
                  13. เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสานงาน และผู้แก้ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนเกี่ยวข้องกับระบบ
4. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
         ตอบ  ทีมงานพัฒนาระบบ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสานสนเทศในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน โดยจัดรูปแบบการทำงานแบบโครงการ เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และขอบเขตงานหลายครอบคลุมไปหลายส่วนงาน
        ประกอบไปด้วยบุคคลดังนี้
         1. คณะกรรมการดำเนินงาน
         2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
         3. ผู้จัดการโครงการ
         4. นักเขียนโปรแกรม
         5. นักวิเคราะห์ระบบ
         6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
         7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
5. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศกี่วิธี อะไรบ้าง
       ตอบ 4 วิธีดังนี้
         1. วิธีเฉพาะเจาะจง
2. วิธีสร้างฐานข้อมูล
3. วิธีจากล่างขึ้นบน
4. วิธีจากบนลงล่าง
6.  การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง 
        ตอบ  5 ขั้นตอนดังนี้
1. การสำรวจเบื้องต้น
2. การวิเคราะห์ความต้องการ
3. การออกแบบระบบ
 4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5.การติดต่อระบบและการบำรุงรักษา
         7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นตอนสำรวจเบื้องต้น
               ตอบ  การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ เป็นต้น
           8. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
                 ตอบ  มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับความต้องการของผู้ใช้  การใช้งานในแต่ละด้านของระบบใหม่ ข้อเด่นและข้อด้อยของวิธีการทำงานในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดทำรายงานสรุป เพื่อนำเสนอต่อฝ่ายจัดการสำหรับทำการตัดสินใจ
             9. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรในขั้นตอนออกแบบระบบ
                  ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วยประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอ จากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
               10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
                   ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบต้องทำการจัดหามิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอจากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมงานพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
             11. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
                 ตอบ  ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดุแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้หรือไม่และการติดตั้งควรที่จะสำเร็จตามตารางที่กำหนด เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานแทนที่ระบบเก่าได้ทันเวลา
              12. รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
                   ตอบ  4 รูปแบบ
  1.  รูปแบบน้ำตก(Waterfll Model) วงจรการพัฒนาระบบแบบนี้ได้เผยแพร่ใช้งานในปี 1970 .. เป็นรูปแบบที่มีมานาน และเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  2. รูปแบบวิวัฒนาการ(Evolutionary Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบวิวัฒนาการมีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเวอร์ชัน แรกก่อน จากนั้นจึงพิจารณาข้อดีข้อเสียของระบบ หาข้อผิดพลาดโดยการทดสอบและการประเมินระบบ จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบใหม่จนได้ระบบงานในเวอร์ชันที่ 2 เวอร์ชันที่ 3เวอร์ชันที่  4 และเวอร์ชันต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้ระบบที่สมบูรณ์ที่สุดแต่ต้องมีการวางแผนกำหนดจำนวนเวอร์ชันตั้งแต่เริ่มโตรงการพัฒนาระบบให้ชัดเจน
 3. รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป(Incremental Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบวิวัฒนาการ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ระบบที่ได้ในแต่ละช่วง  เนื่องจากระบบที่เกิดขึ้นในการพัฒนาขั้นแรกนั้นจะยังไม่ใช่ระบบที่สมบูรณ์ แต่เป็นระบบส่วนแรกเท่านั้นจากระบบที่ต้องการทั้งหมด จนเมื่อมีการพัฒนาในขั้นที่ 2 จึงได้ระบบที่มีส่วนที่ 2  เพิ่มเติมเข้าไป และจะมีการเพิ่มส่วนอื่นๆ เข้าไปจนครบทุกส่วน จนกลายเป็นระบบที่สมบูรณ์มากที่สุด เหมาะสมกับการพัฒนาระบบที่มีงานหลายส่วนที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
  4. รูปแบบเกลียว (Spiral Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบเกลียว จะมีลักษณะที่กระบวน  หารวิเคราะห์ การออกแบบ และการพัฒนา จนวนกลับมาในแนวทางเดิมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ระบบที่สมบูรณ์  การพัฒนาระบบงานด้วยวงจรการพัฒนาในรูปแบบนี้มีความยึดหยุ่นมากที่สุด  เนื่องจากจากระบวนการทำงานใน 1 รอบ ไม่จะเป็นต้องได้ระบบ และระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนในเละรอบนั้นจะใช้เวลาเท่าไรก็ได้  ไม่จำเป็นต้องเท่ากันในทุก ๆ รอบ ถ้าหากไม่มีความจำเป็น บางขั้นตอนอาจจะถูกข้ามไปก็ได้
13. การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  4  วิธี
 1. การปรับเปลี่ยนโดยตรง (Drrect Conversion) เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยการหยุดใช้ระบบเก่าอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ในทันที  ซึ่งจะรวดเร็วและไม่ซับซ้อน วิธีการแบบนี้องค์การหรือมีข้อบกพร่อง ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่มีระบบใดมารองรับในการใช้งานแทนเลย
 2. การปรับเปลี่ยนแบบขนาน(Parallel Conversion) เป็นการดำเนินการโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบใหม่ไปพร้อม ๆ กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เป็นหลักประกันความเสี่ยงว่า ถ้าระบบงานใหม่ยังไม่สมารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงแล้วก็ยังมีระบบเก่าที่สามารถทำงานได้รองรับงานอยู่
 3. การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ(Phased Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านหนึ่งก่อน เมื่องานด้านนั้นทำงานได้ประสบความสำเร็จแล้ว จึงขยายการปรับเปลี่ยนระบบออกไปในด้านอื่นอีก เช่น การเปลี่ยนใช้ระบบใหม่เฉพาะเรื่องการบริหารงานบุคคล เป็นต้น
  4.  การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง(Pilot Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ส่วนหนึ่งติดตั้งเสร็จ และใช้งานได้ดีแล้ว ก็จะขยายผลไปในส่วนต่อ ๆ ไป เช่น บางองค์การที่มีสำนักงานอยู่หลายสาขาหลังจากดำเนินการได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว ก็จะขยายใหม่ไปติดตั้งและใช้งานสาขาอื่นต่อไป เป็นตัน


แบบฝึกหัดบทที่ 14

สรุปบทที่ 14  แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                ปัจจุบัน พัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราสามารถจำแนกผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานขององค์การออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
                1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ     เทคโนโลยี หลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronics mail) เข้า มาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสารและสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ ต้องการได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ที่ เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพดี ยิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ

                2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์   โดย เทคโนโลยีสารสนเทศจะผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทาง ในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน ในอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างสารสนเทศ ที่ดีให้กับตนเองและองค์การ
                3. เครื่องมือในการทำงาน    เทคโนโลยี ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เช่น การออกเอกสารต่าง ๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และการควบคุมการผลิต เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการที่จะนำมาประยุกต์ใน หลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงานและวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆลง แต่ยังคงรักษาหรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงและปรับ ปรุงกระบวนการในการดำเนินงานขององค์การมากขึ้นในอนาคต
                4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล    ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ถูก พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (application software) อีก มากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของงานได้อย่างมาก และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอก องค์การได้อีกด้วย ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและ ผู้บริหารขององค์การ
                5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร    ใน ช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียง อุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยสามารถที่จะต่อเป็นระบบเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องมือที่เก็บและประมวลผล ข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป
                แนว โน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคต ผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่ รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตน มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอย่างสูง ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับ เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจใน อนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ ได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้ เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
                1. คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำ ให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มา ใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
                2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็น การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้ เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถใน การแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
                3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็น ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรง กับระบบคอมพิวเตอร์
                4. การจดจำเสียง (voice recognition) เป็น ความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยา ศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับ ระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
                5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือ EDI เป็น การส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่น โดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
                6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็น ตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสง ผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่ จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชนและการ ค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
                7. อินเทอร์เน็ต (internet) เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่าย นี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
                8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะ มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจาย ความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
                9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็น การนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียว กัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
                10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and Seattleite TV) การ ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
                11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็น การนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูลหรือ ข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้าน คอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้า กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจาก บุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
                12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็น การนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออก แบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
                14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็น การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
                15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถ นำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
ที่ กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นใน ปัจจุบัน และกำลังทำการศึกษาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้งานในอนาคต โครงการพัฒนาความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลไม่เพียงต้องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การและความเป็นอยู่ของมนุษย์ใน สังคมส่วนรวมอีกด้วย เราจะเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิต มนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต อย่างเหมาะสม

แบบฝึกหัดบทที่ 14 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. จงยกตัวอย่างการปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ
ตอบ        - องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                - มีการสนับสนุนการ ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึก สอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
                - ระบบการเข้าทำงานแบบ ยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง


2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร
ตอบ   IT ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างองค์กร ผู้ที่มีอำนาจ ตลอดจนรายละเอียดของงาน เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานและธุรกิจขององค์กร หลาย ๆ องค์กรมีการปรับโครงสร้างเพื่อลดระดับชั้นขององค์กรลง เพื่อให้การตัดสินใจและการบริหารงานมีความรวดเร็วขึ้น โดยภาพรวมแล้ว IT ส่งผลกระทบต่อองค์กรในเรื่องต่อไปนี้
3. ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างไร
ตอบ       1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาท
                2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
                3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย

4. เทคโนโลยีที่มีผลต้องการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง
ตอบ       - ประโยชน์
                - ความ ยืดหยุ่น
                - ความ สามารถในการแข่งขัน
                - ราย
                - ค่า ใช้จ่าย
                - คุณภาพ
                - โอกาส


5. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การอย่างไร
ตอบ       1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการในการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป
                2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ โดย เทคโนโลยีสารสนเทศผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางใน การตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน
                3. เครื่องมือในการทำงาน เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เรา จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น
                4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ถูก พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (Application Softwareอีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตของงานได้อย่างมาก
                5. เทคโนโลยี ในการติดต่อสื่อสาร ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็น เพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพจากทั้งภายในองค์การหรือภายนอก องค์การ โดยไม่จำกัดขอบเขตว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใด ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก


6. เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร
ตอบ       ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำ ให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูก ลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลัก เหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์

7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ตอบ       ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                ระบบ สารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการจัดเก็บระบบข้อมูลซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ทำให้ในปัจจุบันได้มีการนำ GIS มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
                1. การอนุรักษ์ และจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management, Conservation) การจัดการทางพืชและสัตว์ในดิน (Flora and Fauna) สัตว์ป่า (Wild Life) อุทยานแห่งชาติ (National Park) การควบคุมและติดตามมลภาวะ (Pollution Control and Monitoring) และแบบจำลองด้านนิเวศวิทยา (Ecological Modeling)
                2. การจัดการด้านทรัพยากร/การเกษตร (Resources Management / Agriculture) การจัดการระบบชลประทาน การพัฒนาและจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร การอนุรักษ์ดินและน้ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และการทำไม้ ฯ
                3. การวางแผนด้านสาธารณะภัย (Disaster Planning) การบรรเทาสาธารณะภัย การติดตามการปนเปื้อนของสารพิษ และแบบจำลองผลกระทบอุทกภัย (Modeling Flood Impacts)
                4. ด้านผังเมือง (Urban GIS) การวางแผนผังเมือง การวิเคราะห์ด้านอาชญากรรม ที่ดินและภาษีที่ดิน ระบบการระบายน้ำเสีย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย

8. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ
ตอบ        ผู้ บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจของ องค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
                1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
                3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงาน สารสนเทศในองค์การ
                4. กำหนด รายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ

9. ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ   สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือสังคม เปิดที่ ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและ เสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

10. จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ       1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และ เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
                2.ความถูกต้อง (Accuracy) การ ทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
                3.ความเป็นเจ้าของ(Property)เนื่อง จากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบ ต่าง ๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยา ต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนัก เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                4.การเข้าถึงข้อมูล(Access)ธรรมชาติ ของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้นจะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้ คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัด ลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไปข้อมูล

แบบฝึกหัดบทที่ 13

1. จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์การ ในเรื่องของความทันสมัย และเป็นโอกาสที่ทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เพราะสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง

2. เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ในการช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง
ตอบ  เป็น องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ



3. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  4 ประเภท  คือ    - ธุรกิจกับธุรกิจ
                                         - ธุรกิจกับผู้บริโภค
                                         - ธุรกิจกับรัฐบาล
                                         - ผู้บริโภคกับผู้บริโภค
4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
ตอบ       -  มีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                -  มีการตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
                 - การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                - การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
                - การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
                - การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
                - โครงข่ายเศรษฐกิจ
                - การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี

5. หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  หลักการตลาด 6Ps ประกอบด้วย
                - ผลิตภัณฑ์  สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย
                - ราคา  การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้า
                - ช่องทางการจัดจำหน่าย  การหาทำเลการค้าที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่ แต่เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลเทียบได้กับการตั้งชื่อร้าน
                - การส่งเสริมการขาย  กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนเชื่อด้วยการลด แลก แจก และแถมสินค้า
                - การรักษาความเป็นส่วนตัว คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต หรืออีเมล
                - การให้บริการแบบเจาะจง  เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ สามารถเข้าใจพฤติกรรมหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถนำเสนอบริการต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการแบบเจาะจงบุคคล

6. จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ       ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                - สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก
                - สามารถจัดหารสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งต่างๆ
                - สามารถปรับลดปริมาณสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม
                - สามารถเจรจากลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว
                - สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ
7. จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ        ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                - มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และระดับความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความแน่นอน
                - ช่องทางในการติดต่อสื่อสารอาจยังไม่เหมาะสม
                - โปรแกรมหรือซอฟแวร์แบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนบ่อย
                - ต้นทุนในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างสูง
                - ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัย
                - ลูกค้าบางส่วนยังชอบวิธีการซื้อสินค้าและบริการในลักษณะแบบเห็นหน้าตากัน

8. ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
ตอบ       -  ปัญหาในเรื่องของความพร้อมของผู้ประกอบการ
                -  ปัญหาในเรื่องของบุคลากรยังไม่มีความพร้อม
                -  ปัญหาในเรื่องของตลาด
                -  ขาดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่จะได้รับ
                -  ปัญหาในเรื่องของความเชื่อมันในระบบรักษาความปลอดภัย
                -  ค่าบริการใช้อินเตอร์เน็ตและค่าบริการสื่อสารยังมีราคาแพง

แบบฝึกหัดบทที่ 12
1. เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงานและทรัพยากรบุคคล ได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันขององค์การ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่สอดรับกัน
2. ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
ตอบ  การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างและธำรงรักษาความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันขององค์การ ตลอดจนความสำคัญและบทบาทของผู้บริหาร ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การดำเนินงานขององค์การ
3. องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ จนได้รับการยอมรับว่า เป็นทรัพยากรที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ถ้าธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ในการทำงานแล้ว นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ธุรกิจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค
4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
ตอบ  การดำเนินงานในระดับนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง โดยผู้บริหารต้องสนับสนุนให้องค์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการวางแผน โดยเฉพาะในระดับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานสอดประสานกันทั้งองค์การ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการสร้างความกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การ และกลยุทธ์
5. ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐฯ
ตอบ  ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้อมเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นถ้าผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย
6. ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า
ตอบ  องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
7. จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูง  ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
คำตอบ   บริหารระบุความต้องการ สารสนเทศ ได้ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
         1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
         2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร
         3.ผู้บริหารต้องวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ
8. เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ?
คำตอบ   เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย
9. เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร?
คำตอบ       - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
                  - พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
                  -  พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด
10. เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ?
คำตอบ    เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้าน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แบบฝึกหัดบทที่ 11

แบบฝึกหัดบทที่ 11
1. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  เพื่อการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
2. จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ
ตอบ        1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. กำหนดแผนการสารสนทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
                3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล และระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
                4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิภาพผลสูงสุดแก่องค์การ

3. ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร
ตอบ  รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ สารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้หรืการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิง คุณภาพ โดยระบบสารสนทศด้าน การบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1. ระบบการบัญชีการเงิน (Financial Accounting System)
2. ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System)

4. ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง
ตอบ        1. การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
                2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
                3. การควบคุมทาการเงิน (Financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
1. การควบคุมภายใน (Internal Control)
2. การควบคุมภายนอก (External Control)

5. ระบบย่อยของระบบสสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง
ตอบ        1. ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
                2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
                3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
                4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
                5. ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
                6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
                7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
                8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย

6. เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ        1. การปฏิบัติงาน (Operations) เป็น ข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่าน มา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วย ในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแผนแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
                2. การวิจัยตลาด (Marketing Research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรืบริการของ ธุรกิจ
                3. คู่แข่ง (Competitor) คำกล่าวที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้งแสดง ความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงานของคู่แข่งขัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม
                4. กลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) เป็น ข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
                5. ข้อมูลจากภายนอก (External Data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยีซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ

7.  ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร
ตอบ       1. ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต
                2. ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
                3. ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น
                4. ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ
                5. ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

8. ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ   เป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

9.  เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร
ตอบ     1. ความสามารถ (Capability)
                2. การควบคุม (control)
                3. ต้นทุน (Cost)
                4. การติดต่อสื่อสาร (communication)
                5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

10. จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ตอบ       ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล  (human resource information system) หรือHRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือPIS เป็น ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ การ ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วย ให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
                1. ความสามารถ
                2. การควบคุม
                3. ต้นทุน
                4. การติดต่อสื่อสาร
                5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
                6. การวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจโดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาดยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
                7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขันกำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
                8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย บุคคล ที่เป็นผู้ควบคุมสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นเงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้นปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน

แบบฝึกหัดบทที่ 10

แบบฝึกหัดบทที่ 10 
1.  เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ
ตอบ   เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจึงทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ , สังคมแห่งความรู้ หรือสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นผลให้องค์การต่างๆต้องปฏิรูปตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่ และรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ
ตอบ   ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร  ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

3. ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ    5   ประเภทได้แก่
                1. ความสามารถ (Capability)
                2.ความชำนาญ (Expertise)
                3. ความรู้ (Knowledge)
                4. สารสนเทศ (Information)
                5. ข้อมูล (Data)

4.  โมเดลการสร้างความรู้ (SECI) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ       Socialization   คือ การสร้างความรู้ด้วย การแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะ
สมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
                Externalization   คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
                Combination   คือ การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
                Internalization   คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการ ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอ

5.  เพราะเหตุใดองค์การในปัจจุบันจึงเล็งเห็นเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้
ตอบ   จะเห็นได้ว่า การสร้างความรู้ให้อยู่คู่กับองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์การ คือ องค์จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความรู้ และเมื่อองค์การร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ จะ ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การในที่สุด ดังนั้นองค์การใดที่มีการสร้างสรรค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้งจะเป็นแรงผลัก ดันอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในองค์การต่อไป

6.  จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้
ตอบ   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

7.  กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ    ประกอบด้วย  6  ส่วน
                1. การสร้างความรู้ (Create)
                2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)
                3. การเลือกหรือกรองความรู้ (Refine)
                4. การกระจายความรู้ (Distribute)
                5. การใช้ความรู้ (Use)
                6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Monitor)

8. ดังที่  Brain Quiun   กล่าวไว้ว่า  การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร
ตอบ    เห็นด้วย  เพราะเทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทไม่มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และจะเห็นได้ว่า ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้จะมีอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จในการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว

แบบฝึกหัดบทที่ 9

สรุปบทที่ 9
                ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  เป็นสาขาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความหมายและความเข้าใจหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว  ปัจจุบันการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับ AI  แยกระบบความฉลาดออกเป็นหลายสาขาด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะขอนำมากล่าวเพียง                    5 สาขาดังต่อไปนี้
                -  การประมวลภาษาธรรมชาติ
                -  ระบบภาพ
                -  ระบบเครือข่ายเส้นประสาท
                -  หุ่นยนต์
                -  ระบบเชี่ยวชาญ
                ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ ชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับปัญหาเฉพาะเรื่อง และกระบวนการอนุมานเพื่อนำไปสู่ผลสรุปของปัญหานั้น โดยความรู้ที่เก็บรวบรวมอาจเป็นข้อมูลที่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการในเอกสารต่างๆหรือเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
                การพัฒนาระบบ EIS นับว่ามีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในที่นี้พอจะสรุปได้ 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การวิเคราะห์ปัญหา การเลือกอุปกรณ์ ( การแสวงหาความรู้ เครื่องอนุมาน การติดต่อกับผู้ใช้ ES ชุดคำสั่ง และการธำรงรักษาและการพัฒนาระบบ) การถอดความรู้ การสร้างต้นแบบ และการขยาย                   การทดสอบ และบำรุงรักษา

แบบฝึกหัด
1. จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์
ตอบ     ระบบความฉลาดหมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่า มีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือ AI เนื่อง จากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็วส่งผลให้ความหมายและความข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

2. AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
ตอบ  AI   มีการดำเนินงานที่แตกต่างเพราะ
                1. AI ทำการประมวล (Manipulating) ทั้งสัญลักษณ์ (Symbols) และตัวเลข (Numbers) ปกติระบบ AI จะถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประมวลสัญลักษณ์มากกว่าประมวลตัวเลข
                2. AI เป็นชุดคำสั่งแบบมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ (Non-Algorithmic) หรือHeuristic ปกติระบบสารสนเทศทั่วไปจะดำเนินการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ (Algorithm) เป็นสำคัญ
                3.ชุดคำสั่งของระบบ AI จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน (Pattern Recognition) ตามที่ถูกกำหนดมา เพื่อใช้ในการประมวลผลตามลักษณะของงาน
3. เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ตอบ   5 ประเภท คือ   -  การประมวลภาษาธรรมชาติ
                                        -  ระบบภาพ
                                        -  ระบบเครือข่ายเส้นประสาท
                                        -  หุ่นยนต์
                                        -  ระบบเชี่ยวชาญ

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
ตอบ   ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ คือ เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาโดยจะเกี่ยวกับการจัดการความรู้มากกว่า สารสนเทศทั่วไป ระบบนี้จัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมาก ที่สุด ระบบจะมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ ให้ข้อแนะนำช่วยเหลือ ระบบนี้เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในคอมพิวเตอร์

5. จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
ตอบ  ฐานความรู้ (Knowledge Base) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและประสบการณ์ที่สำคัญของผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล จะเก็บรวบรวมตัวเลข, สัญลักษณ์และอาจมีส่วนแสดงความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างแต่ละฐานข้อมูล

6. เราสามารถประเมินความรู้ของระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
ตอบ    การทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดย กำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน

7. จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
ตอบ       1.การวิเคราะห์ปัญหา
                2.การเลือกอุปกรณ์
                3. การถอดความรู้
                4. การสร้างต้นแบบ
                5.การขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา

8. วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไร
ตอบ  โดยธรรมชาติ วัสดุทุกชนิดจะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในลักษณะทั้งแบบยืดหยุ่นได้ (รูปร่างกลับ มาเหมือนเดิม) และแบบถาวร (รูปร่างเปลี่ยนไปแบบถาวร ไม่เหมือนก่อนการเปลี่ยนรูป) ซึ่งการเปลี่ยนรูปดังกล่าวจะเป็นแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำกับวัสดุ และค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ โดยที่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุมากกว่าค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ การเปลี่ยนรูปแบบถาวรก็จะเกิดขึ้นแต่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุไม่มากเกินค่า การกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ วัสดุก็จะกลับคืนสู่รูปร่างเดิม

9. จงอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
ตอบ     จะต้องประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ต่อเรียงกันเข้าเป็นระบบอย่างน้อย 2ระดับโดยระดับแรกเรียกว่า ระดับนำเข้าทำ หน้าที่รับสิ่งนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ระบบ แล้วทำการสงต่อให้เครือข่ายในระดับถัดไปตาหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ถูก กำหนดจนกระทั่งถึงระดับสุดท้ายหรือที่เรียกว่าระดับแสดงผลลัพธ์
10. ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทิศทางใด
ตอบ    คอมพิวเตอร์ ยุคปัจจุบันมีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปมาก และได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์แทบจะทุกสาขา สำหรับการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยทางเคมีนั้น คอมพิวเตอร์ได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะหลังๆนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและออกแบบก่อนทำการทดลองจริง ในการทดลองบางอย่าง ในสถานการณ์เหล่านี้คอมพิวเตอร์เป็นทางออกที่ดีทีเดียว ความสำเร็จของคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบโมเลกุลนี้ ไม่เพียงปรากฏผลเฉพาะแต่ในวงการวิชาการเท่านั้น หากยังออกดอกออกผลไปสู่อุตสาหกรรมอีกด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 8

สรุปบทที่ 8
                การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและมีความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังทีมี่ผู้กล่าวว่า สารสนเทศคือ อำนาจ ทุกองค์การจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ลุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก
                ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป้ฯแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลทุกประเภท โดยเฉพาะ EIS ประการสำคัญ เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต

1.  เหตุใดการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ
ตอบ  ผู้บริหารเป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ ผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสที่สำคัญทางธุรกิจ

2. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะที่สำคัญที่แตกต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์การอย่างไร
ตอบ  บุคลากรแต่ละคนจะมีความต้องการข้อมูลในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันตามตำแหน่งหน้าที่และตามลำดับขั้นในองค์การ เช่น พนักงานปฏิบัติงานจะต้องการข้อมูลที่ชัดเจน แน่นอนและเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะปฏิบัติงานได้ตามรูปแบบ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง ซึ้งมีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ เนื่องจากงานของผู้บริหารจะมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ขององค์การ แต่มีข้อจำกัดที่ชนิดของปัญหา ความถี่ อัตราความต้องการ และระยะเวลาการตัดสินใจ
3. ปกติผู้บริหารได้รับข้อมูลในการตัดสินใจจากแหล่งใดบ้าง ตลอดจนข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ตอบ       -  ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดำเนินงาน เป็นข้อมูลที่แสดงผลการปฏิบัติงานขององค์การ หน่วยงาน หรือระบบที่สนใจ ข้อมูลจากการดำเนินงานช่วยสร้างความเข้าใจและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต
                -  ข้อมูลจากภายในองค์การ เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นภายในองค์การเพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงานของกิจกรรม หรือโครงการในด้านต่างๆขององค์การ ได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย
                -  ข้อมูลจากภายนอกองค์การ ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อองค์การ      โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวิทยาการในประเทศ

4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันขององค์การในยุคปัจจุบัน
ตอบ  ผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และยังช่วยส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงานทางธุรกิจด้วย

5. จงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทักษะทางสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
ตอบ  ควรทำการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง ให้มีความรู้ทางด้านนี้ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยพัฒนางานในด้านที่ผู้บริหารระดับสูงจะต้องทำ  จริงอยู่ที่มีการบอกว่าผู้บริหารระดับสูง         ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ  แต่ก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับด้านนี้ด้วย

6. จงอธิบายความหมายและคุณลักษณะเฉพาะของ EIS
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้น และปรับตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, DSS และ MIS
ตอบ  ทั้ง 3 ต่างถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้ง 3 ระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้
8. คุณสมบัติสำคัญของ EIS  มีอะไรบ้าง
ตอบ       -  สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
                -  เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
                -  มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
                -  ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
                -  พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร

9. ข้อดีและข้อจำกัดในการนำ EIS มาใช้งานในองค์การมีอะไรบ้าง
ตอบ  ข้อดี คือ      -  ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
                                -  ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
                                -  ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
                                -  ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
                                -  ประหยัดเวลาในการดำเนินงาน
                                -  สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
           ข้อจำกัด คือ     -  มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
                                        -  ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
                                        -  ยากต่อการประเมินประโยชน์ และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
                                        -  ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
                                        -  ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
                                        -  ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลของระบบ
                                        -  ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล

10. ท่านมีความเห็นว่ามีการประยุกต์ EIS ในองค์การในประเทศบ้างหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  การใช้ระบบ EIS ได้มีการพัฒนา เพื่อใช้ในองค์การแล้ว ทั้งทางด้านธุรกิจ มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้บริหาร

แบบฝึกหัดบทที่ 7

สรุปบทที่ 7
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS  เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองข้อมูลในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
                1.  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ DSS แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์แสดงผล
                2.  ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องกาของผู้ใช้
                3.  ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันมากเพียงใด
                4.  บุคลากรจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยที่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ใช้และผู้สนับสนุนระบบ DSS        
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกาตัดสินใจของกลุ่ม ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
                1. อุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกันตามหลัก การยศาสตร์ จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความสอดคล้องระหว่างอุปกรณ์และผู้ใช้ในการทำงาน
                2.  ชุดคำสั่ง  ต้องมีลักษณะเหมาะสมในการรวบรวมและนำเสนอข้อมูล บ่งชี้ความจำเป็นก่อนหลังในการตัดสินปัญหาต่างๆ ช่วยส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะหาข้อสรุปของปัญหา
                3.  บุคลากร จะรวมถึงสมาชิกของกลุ่มตลอดจนผู้สนับสนุนในด้านต่างๆ ที่ทำให้การทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
                ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
                -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
                -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
                -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
                -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
                -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
                -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
                -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

  1.  จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ  การจัดการก็คือ กิจกรรมต่างๆที่แต่ละองค์การจะต้องทำ เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน                  การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า โดยที่ Henri Fayol ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการไว้ 5 ประการด้วยกันคือ การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน การตัดสินใจและการควบคุม จะเห็นว่าการตัดสินใจก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเช่นกัน  องค์การจะประสบความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ

2.  เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ  3 ระดับ คือ
                -  การตัดสินใจระดับกลยุทธ์
                -  การตัดสินในระดับยุทธวิธี
                -  การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ

3.  เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ   3 ขั้นตอน คือ
                -  การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
                -  การออกแบบ
                -  การคัดเลือก

4.  การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  มี 3 ประเภท คือ
                -  การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง
                -  การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
                -  การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง

5.  การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่อาจจะวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า และมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลากหลาย ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับอนาคต
6.  จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

7.  DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ       1  อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                     - อุปกรณ์ประมวลผล 
                     - อุปกรณ์สื่อสาร
                     - อุปกรณ์แสดงผล DSS
                2  ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
                     - ฐานข้อมูล
                     - ฐานแบบจำลอง
                     - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
                3  ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอ แล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
                4  บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้ DSS ซึ่งเราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
                     - ผู้ใช้
                     - ผู้สนับสนุน
8.  การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ  DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการกับข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากระบบการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหา นอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าการปฏิบัติงานประจำวัน

9.  ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ       -  การวิเคราะห์ระบบ เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้นๆ
                -  การออกแบบระบบ จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและมีความสะดวกต่อผู้ใช้
                -  การนำไปใช้ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต

10.  จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ  ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
                -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
                -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
                -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
                -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
                -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
                -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
                -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

แบบฝึกหัดบทที่ 6

สรุปบทที่ 6
                รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายหลักๆมี 4 แบบคือ
                -   โทโปโลยีแบบบัส  เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คือ อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่าย จะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า  บัส
                -  โทโปโลยีแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเหมือนวงแหวน ในแต่ละโหนดหรือสถานีจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสารในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร
                -  โทโปโลยีแบบดาว เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลางหรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย
                -  โทโปโลยีแบบผสม เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์การ
                ปัจจุบันช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่ 2 ลักษณะ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่ การสื่อสารแบบมีสาย เช่น สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียลและสายใยแก้วนำแสง และระบบสื่อสารแบบไร้สาย เช่น คลื่นสั้น และดาวเทียม โดยช่องทางการติดต่อสื่อสารแต่ละลักษณะจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สัญญาณแบบแอนะล็อกและสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนอุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสารสำคัญมีดังนี้ อุปกรณ์ประมวลผลหน้า อุปกรณ์รวบรวม และอุปกรณ์ควบคุม
1)  ระบบเครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนา และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบสารสนเทศที่เปรียบเสมือนระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการทำงานภายใน รับสัมผัส และตอบสนองต่อภายนอก

2)  ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ  4 ชนิด คือ
                -  ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่
                -  ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง
                -  ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่
                -  ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ

                3)  ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (WAN) มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ       LAN   เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในระยะใกล้เข้าด้วยกัน
                WAN  เป็นระบบที่ติดต่อโดยการใช้คลื่นไมโครเวฟและดาวเทียมเข้าช่วย เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ

4)  จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อที่จะให้ช่องทางส่งสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน

5)  รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 4 รูปแบบ คือ
                -  โทโปโลยีแบบบัส
                -  โทโปโลยีแบบวงแหวน
                -  โทโปโลยีแบบดาว
                -  โทโปโลยีแบบผสม
6)  ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 2 ลักษณะ คือ
                -  ระบบสื่อสารแบบมีสาย
                -  ระบบสื่อสารแบบไร้สาย

7)  สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ       สายเกลียวคู่ คือ สายที่มีเส้นลวด 2 เส้นพันกันเป็นเกลียว โดยมีฉนวนห่อหุ้มเส้นลวดเกลียวคู่แต่ละเส้นไว้ เหตุที่เส้นลวดพันกันเป็นเกลียวก็เพื่อลดเสียงรบกวน การส่งข้อมูลด้วยสายเกลียวคู่นี้มักเป็นการส่งสัญญาณเสียง
                สายโคแอกเซียล มีลักษณะเป็นสายกระบอกที่ทำด้วยทองแดง และมีลวดตัวนำอยู่ตรงกลาง ระหว่างลวดตัวนำและทองแดงจะมีฉนวนห่อหุ้มสายโคแอกซ์ สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วและมากกว่าสายเกลียวคู่ ตลอดจนช่วยป้องกันการรบกวนในการติดต่อสื่อสารได้ดีกว่าสายเกลียวคู่
                สายใยแก้วนำแสง มีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้ายเส้นใยแก้ว โดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสงและส่งผ่านไปตามเส้นใยด้วยความเร็วแสง จึงทำให้เส้นใยนำแสงสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน ทนทาน และป้องกันการรบกวนได้ดีกว่าเส้นลวดชนิดต่างๆ

8)  จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนาล็อก กับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ       แบบที่ 1 จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ระดับของสัญญาณ จะเปลี่ยนสูงหรือต่ำอย่างต่อเนื่อง ที่ทุกๆค่าเปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบนี้จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย
                แบบที่ 2 ประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบแอนะล็อก

แบบฝึกหัดบทที่5

สรุป
บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล
การแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
ฐานข้อมูล หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์กร เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะคือ โครงสร้างเชิงกายภาพและโครงสร้างเชิงตรรกะ โครงสร้างเชิงตรรกะซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบจำออกเป็น 3 ประเภท แบบจำลองการจัดข้อมูลลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลชิงสัมพันธ์
ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมายถึงชุดคำสั่งหรือทำหน้าที่สร้าง ควบคุมและดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่าชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ภาษาสำหรับนิยามข้อมูลหรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลหรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
การบริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ ตลอดจนการออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล หรือ DBA


บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล
1.            เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง?
ตอบ    2 แบบ  คือ
1 . การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (sequential  File  Organization)
2 . การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization  )
2.            จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ      - การเข้าถึงข้อมูลแบบรวดเร็ว  เนื่องจากผู้ใช้สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง  ไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่น เหมือนการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
- สะดวก ในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย  เนื่องจากการปรับ ปรุงข้อมูลทำได้โดยง่าย  ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับ หรือรอเวลา
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงาน  ที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ  ตลอด จนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
  แต่วิธีการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังตอบไปนี้
-ข้อมูล มีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมี ความยืดหยุ่น  ถ้าขาดการจัดการที่เป็นระบบละมี ประสิทธิภาพ  อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ  ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ  เนื่องจากต้องจัดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นใหม่
- มีค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มี เทคโนโลยีสูง  และผู้ใช้ต้องมีทักษะในการทำงาน มากกว่าแฟ้มข้อมูลระบบเรียงลำดับ
3.            ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน?
ตอบ    ฐาน ข้อมูล  (Database)  หมาย ถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน   ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ  เพื่อ ที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล  และประยุกต์ ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตัวอย่าง เช่น  องค์การจะมีบานข้อมูลของบุคลากรซึ่งเก็บข้อมูล ของพนังงานไว้รวมกัน
4.            เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ  3 ประเภท  คือ
1 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น (Hiearchical  Data  Model )
2 . แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย(Network  Data  Model  )
3 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Data  Model  )
5.            จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท?
ตอบ      5.1. ชนิดของแบบจำลอง
เชิงลำดับขั้น    เครือข่าย          เชิงสัมพันธ์
           
                       5.2. ประสิทธิภาพการทำงาน
สูง                   ค่อน ข้างสูง                 ต่ำ (กำลังพัฒนา)
          5.3. ความยืดหยุ่น
ต่ำ                     ค่อน ข้างต่ำ                สูง หรือต่ำ
          5.4. ความสะดวกต่อการใช้งาน

             ต่ำ                    ปานกลาง                    สูง
6.            ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล  หมายถึง  ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่ สร้าง  ควบคุม  และดูแลระบบ ฐานข้อมูล   เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือกข้อมูล  และสามารถนำ ข้อมูลนั้นมาใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ  โดย ที่  DBMS  จะทำหน้าที่เสมือน ตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ  กับ หน่วยเก็บข้อมูล  ซึ่ง DBMS ประกอบ ด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่  3ส่วน คือ
1 . ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data  Definifion  Language ;DDL  )
2 . ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล  ( Data Manipuiation  Language; DML  )
3 . พจนานุกรมข้อมูล  (Data  Dictionary  )
7.            จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  ผู้ที่ ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพราะจะช่วย ให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใขระบบได้ง่าย
8.            นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง?
ตอบ        1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
 2 . พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
 3 . จัดทำหลักฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
 4 . ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลทำงานอย่างปกติ
 5 . ประสานงานกับผู้ใช้
9.            เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร?
ตอบ   เพื่อ ความคล่องตัวในการบริหารงานและการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ  การที่องค์การเลือกใช้วิธีการจัดหน่วยงานบริหารข้อมูลแบบ ใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน  และปัจจัยแวดล้อมเป็นสำคัญ

10.    จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ระบบ ฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์  (Centralized Database System)”ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจาก ความสะดวกในการจัดการและคุณสมบัติของเทคโนโลยี   ทำ ให้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นตามลำดับ